ตารางขนาดท่อเหล็กดำ สำคัญต่อผู้รับเหมาอย่างไร?

ตารางขนาดท่อเหล็กดำ สำคัญต่อผู้รับเหมาอย่างไร?

ตารางและขนาดเหล็กท่อดำ

สำหรับเจ้าของโครงการและผู้รับเหมา การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างที่คุ้มค่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าต้องคุ้มทั้งในเรื่องของคุณภาพ การใช้งาน ราคา และการเลือกขนาดท่อเหล็กดำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของโครงสร้าง บทความนี้ SB Steel จะพาไปทำความเข้าใจว่า ตารางและขนาดท่อเหล็กดำสำคัญอย่างไรกับผู้รับเหมา รวมถึงประโยชน์และการเลือกนำไปใช้ก่อสร้างให้เหมาะสมที่สุด

ตารางขนาดท่อเหล็กดำ ของ SB Steel

ขนาดท่อเหล็กดำมีหลายขนาด ผู้รับเหมาจำเป็นต้องรู้จักเพื่อที่จะได้เลือกใช้กับงานโครงสร้างได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด

ขนาดเหล็กท่อดำ

น้ำหนัก (กก.) / หน่วย

เหล็กท่อดำ 1 นิ้ว x 2.3 มม. มอก.

10

เหล็กท่อดำ 1 นิ้ว x 3.2 มม. มอก.

14

เหล็กท่อดำ 1 1/4 นิ้ว x 2.3 มม. มอก.

12.8

เหล็กท่อดำ 1 1/4 นิ้ว x 3.2 มม. มอก.

17.5

เหล็กท่อดำ 1 1/2 นิ้ว x 2.3 มม. มอก.

14.5

เหล็กท่อดำ 1 1/2 นิ้ว x 3.2 มม. มอก.

20

เหล็กท่อดำ 2 นิ้ว x 2.3 มม. มอก.

18.2

เหล็กท่อดำ 2 นิ้ว x 3.2 มม. มอก.

25.5

เหล็กท่อดำ 2 1/2 นิ้ว x 2.3 มม.

23

เหล็กท่อดำ 2 1/2 นิ้ว x 3.2 มม.

32.1

เหล็กท่อดำ 3 นิ้ว x 2.3 มม. JIS

27

เหล็กท่อดำ 3 นิ้ว x 3.2 มม. มอก.

38

เหล็กท่อดำ 3 1/2 นิ้ว x 3.2 มม.

45

เหล็กท่อดำ 4 นิ้ว x 3.2 มม มอก.

48.5

การเลือกขนาดท่อเหล็กดำ ให้เหมาะสมกับงานโครงสร้างสำคัญอย่างไร?

การเลือกขนาดเหล็กท่อดำ

แน่นอนว่าท่อเหล็กดำนั้นมีประโยชน์และใช้งานได้หลากหลายในงานก่อสร้าง แต่ผู้รับเหมาหรือช่างควรเข้าใจว่าขนาดของท่อเหล็กดำที่แตกต่างกันนั้นจะส่งผลต่องานก่อสร้างอย่างไร SB Steel จึงอยากอธิบายถึงความสำคัญของการเลือกขนาดท่อเหล็กดำให้เหมาะสม

  • ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
    ขนาดท่อเหล็กดำต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม รับน้ำหนัก แรงเสียดทาน และแรงกดที่มีโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อความปลอดภัยและความแข็งแรงของงานก่อสร้าง
  • ลดค่าใช้จ่าย
    การเลือกขนาดท่อเหล็กดำที่เหมาะสมช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้ ผู้รับเหมาไม่ต้องเสียเวลาและแรงงานในการติดตั้ง เพราะท่อเหล็กดำนั้นติดตั้งง่ายและเคลื่อนย้ายสะดวก 
  • ป้องกันการสึกหรอในระยะยาว
    การเลือกขนาดท่อเหล็กดำที่เหมาะสมช่วยป้องกันการสึกหรอของโครงสร้างได้ ที่สำคัญยังช่วยลดความเสียหายและความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
  • ตรงตามมาตรฐานการควบคุมทางเทคนิค
    การเลือกขนาดท่อที่ถูกต้องช่วยให้งานโครงสร้างมีความคงทนและสามารถควบคุมได้ตามมาตรฐานและข้อกำหนด
  • ความสวยงามเป็นระเบียบ
    ท่อเหล็กดำที่มีขนาดเหมาะสมช่วยให้โครงสร้างสวยงามและเป็นระเบียบ ไม่เกะกะ หรือบดบังทัศนียภาพของผู้อยู่อาศัย

ท่อเหล็กดำเหมาะกับงานก่อสร้างประเภทไหน?

ท่อเหล็กดำสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานโครงสร้างได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากหาซื้อง่าย สั่งผลิตตามขนาดที่ต้องการได้ และราคาสมเหตุสมผล ซึ่งงานก่อสร้างที่ได้รับความนิยมมาก อาทิ :  

  • งานวางโครงสร้าง
    ผู้รับเหมานิยมใช้ท่อเหล็กดำขึ้นเป็นโครงสร้างของหลังคา นั่งร้าน โครงถัก เสาอาคารขนาดเล็ก รั้ว ราวกั้น หรือราวจับ
  • งานออกแบบตกแต่ง
    สามารถใช้ท่อเหล็กดำในการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมทั้งบริเวณภายนอกและภายในอาคารได้อย่างสวยงาม หรือตกแต่งหน้าต่าง ประตู และบานพับ นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นของใช้ในอาคารได้อีกด้วย เช่น ราวผ้าม่าน ราวตากผ้า และโครงเหล็กในอาการสไตล์ Industrial Loft
  • ระบบท่อ
    ท่อเหล็กดำมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงเสียดทาน แรงลม และแรงดันที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี จึงนิยมนำมาใช้งานในระบบท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อดับเพลิง และท่อน้ำหล่อเย็น

SB Steel พร้อมจัดจำหน่ายเหล็กทุกขนาด มาตรฐานสูง ราคาโรงงาน

SBsteel จำหน่ายเหล็กทุกประเภท

SB Steel คลังเหล็กคุณภาพสูงที่จัดจำหน่ายเหล็กทุกประเภท ทุกขนาด จำนวนกว่า 1,300 รายการในราคาย่อมเยาให้คุณเลือกตามความต้องการ สินค้าของเราส่งตรงจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน ตอบโจทย์ผู้รับเหมาและงานก่อสร้างทุกประเภทมานานกว่า 40 ปี นอกจากนี้ SB Steel ยังมีช่างเหล็กมากประสบการณ์คอยให้คำแนะนำสินค้า พร้อมตรวจสอบคุณภาพก่อนจัดส่งให้คุณทุกชิ้น วางใจในคุณภาพและความคุ้มค่าได้เลย

ขอคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของ SB Steel สามารถติดต่อได้ที่ Tel. 02 421 1308 หรือเยี่ยมชมร้าน คลิกดูแผนที่

บทความที่คล้ายกัน

เหล็ก H-Beam คืออะไร

ทุกเรื่องที่ควรรู้! เหล็ก H-Beam คืออะไร? เหมาะกับการใช้งานแบบใด?

ขนาดเหล็ก H-Beam

ผู้รับเหมาเซฟไว้เลย! ตารางและขนาดเหล็ก H-Beam

ขนาดเหล็กกล่องแบน

ตารางและขนาดเหล็กกล่องแบน เลือกใช้งานอย่างไร?

เหล็กกล่องแบน แป๊บแบน

เหล็กกล่องแบน เหล็กแป๊บแบน คืออะไร? เลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม?

ตารางและขนาดเหล็กท่อดำ

ตารางขนาดท่อเหล็กดำ สำคัญต่อผู้รับเหมาอย่างไร?

เหล็ก H-Beam และ I-Beam แตกต่างกันอย่างไร ?